ฟิล์มติดรถยนต์ มีกี่ประเภท กี่แบบ
ก่อนที่จะกลายมาเป็นฟิล์มติดรถยนต์นั้น เริ่มแรกการย้อมสีกระจกและแก้วมาก่อน สั่งเกตได้จากโบสถ์ที่มีกระจกหลายๆดี ที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม ต่อจากนั้นมนุษย์เราพัฒนาฟิล์มกรองแสงสำหรับติดกระจกภายในบ้านเรือน คาคาร เพื่อการมองเห็นที่สบายตาและยังป้องกันความร้อนจากภายนอก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเริ่มมีการใช้รถยนต์ในการเดินทางมากขึ้น ติดต่อค้าขายกัน จึงเริ่มมีการใช้ฟิล์มย้อมสีกับรถยนต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นฟิล์มติดรถยนต์และรถยนต์ก็ถูกพัฒนามาควบคู่พร้อมๆกันจนถึงปัจจุบัน
- ฟิล์มแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามวิธีการผลิต
- แต่ละประเภทถูกพัฒนาให้เกิดคุณสมบัติที่ต่างกัน เกิดเป็นหลายแบบให้เลือก
ประเภทของฟิล์มติดรถยนต์
ฟิล์มกรองแสงรถยนต์หรือฟิล์มรถยนต์นั้น ณ ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งแบ่งตามเทคโนโลยีการผลิตฟิล์ม ดังนี้
1. ฟิล์มติดรถยนต์ แบบย้อมสี (Dyed Window Tint)
เป็นฟิล์มยุคแรกที่เราเริ่มคิดค้นวิธีการผลิตฟิล์มติดรถยนต์ ซึ่งในยุคนั้นใช้วิธีการย้อมสีเข้าไปในเนื้อฟิล์ม ใช้ความเข้มของสี เพื่อกำหนดค่าให้แสงส่องผ่านเนื้อฟิล์มติดกับรถยนต์โดยใช้กาว เมื่อเวลาผ่านไป ฟิล์มย้อมสีดูดซับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ก็ทำให้สีซีดลง กาวที่ติดก็กับกระจกก็เริ่มเกิดฟอง ทำให้ฟิล์มเสื่อมสภาพเร็ว แทนที่ฟิล์มจะช่วยป้องกันรังสีและความร้อนจากดวงอาทิตย์ ในปัจจุบันฟิล์มติดรถยนต์ย้อมสีไม่มีจำหน่ายแล้ว
2. ฟิล์มติดรถยนต์เหลือบโลหะ (Metallised Films)
ต่อมาในช่วงกลางปี 1960 บริษัท 3M ผู้ผลิตรกาวและลามิเนตที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเรื่องสก็อตเทป ก็คิดค้นวิธีการผลิตฟิล์มติดรถยนต์ด้วยกรรมวิธีการเคลือบโลหะให้กับโพลีเอสเตอร์ใสสำหรับฟิล์มกันแสงแดด 3 ปีต่อมา เกิดการโจมตีจากผู้ก่อการร้ายในยุโรป จากเหตุการณ์นี้จึงเกิดการผลิตฟิล์มกรองแสงนิรภัยแบบใสที่ช่วยยึดเศษกระจกที่แตกไม่ให้กระจาย ด้วยคุณสมบัตินี้ของฟิล์มกรองแสง จึงเกิดเป็นมาตรฐานสำหรับฟิล์มกรองแสงในปัจจุบัน เรามักเรียกฟิล์มโลหะในอีกชื่อว่า ฟิล์มปรอท เนื่องโลหะที่เคลือบในฟิล์มสะท้อนแสงสีเงินคล้ายๆ กับสารปรอท
ข้อดี
- ป้องกันความร้อนได้ดีมาก
ข้อเสีย
- แสงสะท้อนสูง
- ปิดกันสัญญาณ GPS, โทรศัพท์ มือถือ, บัตรผ่าน การ์ด RFID
3. ฟิล์มติดรถยนต์ คาร์บอน (Carbon Window Tint)
ฟิล์มคาร์บอน เป็นฟิล์มที่พัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาข้อเสียของฟิล์มกรองแสงเคลือบโลหะ โดยฟิล์มคาร์บอนมีการนำเอาอนุภาคคาร์บอนผสมเข้าไปในชั้นเนื้อฟิล์ม ทำให้ป้องกันความร้อนได้ดี ที่สำคัญไม่รบกวนสัญญาณการสื่อสารภายในรถยนต์
ข้อดีของฟิล์มคาร์บอน
- ป้องกันรังสี UV 99 เปอร์เซ็นต์
- ป้องกันความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ 50 เปอร์เซ็นต์
- ทนต่อการขีดข่วน
- ไม่รบกวนสัญญาณอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์
- ลักษณะสีดำที่เป็นกลาง
- ไม่ซีดจางไปตามกาลเวลา เนื่องจากไม่ใช่สีย้อม
4. ฟิล์มติดรถยนต์ เซรามิค (Ceramic Window Tint)
ฟิล์มติดรถยนต์หรือฟิล์มกรองแสงนาโนเซรามิก เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการผลิตฟิล์มโดยใช้นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) สร้างอนุภาคเซรามิกให้มีขนาดเล็กมากในระดับอะตอม โมเลกุล ซึ่ง 1 นาโนเมตร คือความยาว 1 ในสิบล้านของเซนติเมตร ( 10-7 เซนติเมตร) ส่งผลให้ฟิล์มเซรามิกมีคุณสมบัติพิเศษขึ้นทั้งทางด้านกายภาพเคมี และชีวภาพ
ทัศนวิสัยในการขับขี่ ดีเยี่ยมทั้งกลางวันและกลางคืน
- ฟิล์มกรองแสงคุณภาพสูงสุด
- ลดความร้อนจากแสงอาทิตย์จาก มากกว่า 91%
- ช่วยให้การทำงานของวิทยุ โทรศัพท์มือถือ และระบบ GPS มีประสิทธิภาพสูงสุด
- ไม่มีแสงสะท้อน สบายตา
- สีซีดจางได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ
- ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันแสงอัลตราไวโอเลตจากภายใน
- ป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในรถได้ถึง 99%
ฟิล์มไฮบริด คืออะไร ?
หลังจากเรารู้จักฟิล์มทั้ง 4 ประเภทแล้ว ก็มีผู้ผลิตฟิล์มหลายรายที่ผลิตฟิล์มเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้รถของผู้ขับขี่ โดยการนำเอาคุณสมบัติเด่นในฟิล์มแต่ละประเภทมาผสมเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเป็นฟิล์มไฮบริด
ฟิล์มโลหะย้อมสี
นำเอาข้อดีของฟิล์มโลหะที่กันความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่มีข้อเสียเรื่องทำให้สัญญาณอิเล็กทอนิกภายในรถใช้งานได้ยากลำบาก มารวมกับฟิล์มย้อมสีที่ให้ความสะบายตา ทัศนวิสัยในการขับขี่ ดีเยี่ยม จึงเกิดเป็น ฟิล์มไฮบริด ที่แก้ไขปัญหาเรื่องสัญญาณการสื่อสารภายในรถได้
ฟิล์มนาโนเซรามิคคาร์บอน
เป็นการผสมกันระหว่างคาร์บอนและนาโนเซรามิค นำเอาข้อดีของความดำเข้มปกป้องความเป็นส่วนตัวภายในรถยนรวมกับเทคโนโลยีนาโนเซรามิคที่ป้องกันรังสี UV ได้ 99.9% การมองเห็นมที่คมชัด เครียใส ทำให้ได้ฟิล์มคุณภาพสูงระดับ Hi-End เป็นฟิล์มประเภทที่ราคาสูงกว่าทั่วไป ทางเรามีจำหน่ายในชื่อรุ่น American Black Crystal สนใจสามารถสอบถามราคาได้ทาง LINE
คุณสมบัตรฟิล์ม
นอกจากเราจะแบ่งประเภทฟิล์มติดรถยนออกเป็น 4 ประเภทแล้วแต่ละประเภทยังมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการใส่คุณสมัติพิเศษเข้าไปในฟิล์ม ทำให้ฟิล์มรถยนต์มีให้เราเลือกหลายรูปแบบ เช่น
- ฟิล์มนิรภัย
เป็นฟิล์มที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วกระจกรถธรรมดาๆก็จะถูกฟิล์มยึดไว้ไม่ให้แตกกรจาย หรือแม้แต่เศษก้อนหินกระเด็นมากระทบกับกระจกรถยนต์ก็ไม่เกิดการแตกร้าว เนื่องจากฟิล์มสามารถดูดซับแรงกระแทกได้ก่อนผิวกระจกรถยนต์ ไม่เกิดรอยขูดขวนบยผิวกระจก แต่ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนได้ใส่คุณสมบัตินี้ลงไปในกระจกแล้วทำให้รถยนต์ที่ผลิตออกมาเป็นกระจกนิระภัยกันหมด เหลือแต่คุณสมบัติการดูดซับแรงกระแทกที่ยังคงมีผู้ผลิตฟิล์มติดรถยนต์มีจำหน่าย
- IR Films (Infrared)
เป็นฟิล์มกรองแสงที่มีคุณสมบัติพิเศษในการลดรังสีอินฟราเรด โดยโครงสร้างจะมีส่วนของฝุ่นผงขนาดเล็กมาก เช่น ผงเซรามิค
- ฟิล์มเปลี่ยนสีอัตโนมัติ
เราน่าจะคุ้นเคยกันดีกับแว่นตาออโต้ ซึ่งในฟิล์มติดรถยนต์ก็ใช้เทคโนโลยี Photochromic ซึงเป็นการเคลือบสารที่ทำปฏิกิริยากับรังสี คุณสมบัติเดียวกับการผลิตแว่นตากันแดดที่จะเข้มขึ้นอัตโนมัติตามแสง UV จากดวงอาทิตย์ และจะเริ่มใสเมื่อเราขับรถอยู่ในร่ม ปัจจุบันฟิล์มประเภทนี้ไม่ค่อยมีให้จำหน่ายแล้ว